วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบต่างๆในร่างกายของมนุษย์

ระบบต่างๆในร่างกาย

ระบบย่อยอาหาร


ระบบย่อยอาหารเป็นระบบ อวัยวะที่ประกอบด้วยอวัยวะที่มีช่องกลวงต่อเนื่องตั้งแต่ปากจนถึงรูเปิดของ ทวารหนัก รวมถึงอวัยวะช่วยย่อยมีหน้าที่ทำให้อาหารที่กินเข้าไปมีขนาดเล็กจนสามารถดูด ซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง เพื่อการใช้ประโยชน์ของร่างกายได้

หน้าที่ของระบบย่อยอาหาร 

การดูดซึม

 การใช้ประโยชน์ของอาหาร

 การขับถ่ายกากอาหาร

แบ่งตามกิจกรรมได้ 2 กลุ่ม

อวัยวะที่เป็นช่องทางเดินอาหาร (alimentary tract or gastrointestinal        tract, GI tract )

 อวัยวะช่วยย่อยอาหาร (accessory organs)

* อวัยวะส่วนใหญ่ของระบบอยู่ในช่องท้องโดยมีเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ซึ่งมี 2 ชั้น ชั้นนอก (parietal peritoneum) บุช่องท้อง และชั้นใน (visceral peritoneum) คลุมอวัยวะไว้
อวัยวะในระบบย่อยอาหารบรรจุอยู่ใน ถูกปกป้องด้วยกระดูกซี่โครง กระดูกเชิงกราน และคลุมด้วยเยื่อบุช่องท้อง (omentum)
ช่องทางเดินของอาหาร (ตั้งแต่ปาก - รูทวารหนัก)

ยาวประมาณ 30 ฟุต

 โครงสร้างของผนังช่อง      ประกอบด้วย tunic 4 ชั้น

tunica mucosa (ชั้นใน)

 tunica submucosa

 tunica muscularis (กล้ามเนื้อเรียบ)

 tunica serosa (ชั้นนอก)

กลุ่มอวัยวะที่เป็นช่องทางเดินอาหาร

ช่องปาก

 หลอดคอ

 หลอดอาหาร

 กระเพาะอาหาร

 ลำไส้เล็ก

 ลำไส้ใหญ่

 ที่พักอุจจาระ

 ทวารหนัก

การทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร

การเคลื่อนไหว (motility)

 การหลั่งสารคัดหลั่ง (secretion)

 การย่อยอาหาร (digestion)

 การเคลื่อนไหว (Motility)

เป็นที่พักของอาหาร (storage)

 คลุกเคล้าอาหารกับน้ำย่อย (mixing)

 บีบไล่ให้อาหารเคลื่อนที่ (peristalsis)

 การปิดกั้นไม่ให้อาหารหรือกากอาหารผ่าน

การหลั่งสารคัดหลั่ง (Secretion)

น้ำย่อย

 มูก

hormone

 กรด

 น้ำ

เกลือแร่


การย่อยอาหาร (Digestion)


คือ การทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง จนสามารถถูกดูดซึมไปให้เซลล์ใช้ประโยชน์ได้
การดูดซึม (Absorption)
คือ การที่อาหารที่ผ่านการย่อยสลายให้มีขนาดเล็กลงแล้ว ถูกดูดซึมที่ mucous membrane ของอวัยวะทางเดินอาหาร เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อขนส่งไปให้เซลล์ต่างๆใช้ประโยชน์
อุจจาระและการขับถ่าย
อุจจาระ (feces) คือ ของที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นผลจากการทำงานของน้ำย่อย และแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ช่วยทำให้กากอาหารมีขนาดเล็กลง นอกจากกากอาหารแล้วอุจจาระยังประกอบด้วยน้ำ และของเสียที่ร่างกายต้องขับถ่ายออกพร้อมกับอุจจาระอีกด้วย


ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อเป็นอีกระบบหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในร่างกาย

กระบวนการสำคัญที่ระบบต่อมไร้ท่อควบคุม

 Metabolism

 Growth-Development and Puberty

 Tissue function

 Mood

บทบาทของต่อมไร้ท่อกับการเกิดโรค

ต่อม ไร้ท่อมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการที่สำคัญของมนุษย์หลายอย่าง ดังนั้นการทำหน้าที่ที่ผิดปกติของต่อมจึงมีผลต่อกระบวนการนั้น ๆ การทำหน้าที่ที่ผิดปกติ เช่น การหลั่งฮอร์โมนมากเกินไป (hypersecreation) การหลั่งฮอร์โมนน้อยเกินไป (hyposecreation) เช่น ถ้าต่อม hypophysis (ต่อมใต้สมอง) หลั่งฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต (growth hormone) มากเกินไปในระยะก่อนวัยรุ่นจะทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติที่เรียกว่า gigantism แต่ถ้าหลั่งน้อยเกินไปทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติที่เรียกว่า Dwarfism ฯลฯ

ต่อม (Gland)

หมายถึง กลุ่มเซลล์ที่มีเซลล์ผิวเป็นโครงสร้างและมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันปกคลุม ทำหน้าที่ผลิตสารอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อมมี 2 ชนิด คือ

 ต่อมมีท่อ(exocrine gland)

 ต่อมไร้ท่อ(endocrine gland)

Exocrine gland

ต่อมมีท่อจะมีท่อนำสารที่ต่อมหลั่งไปสู่เป้าหมาย เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำนม และต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น

Endocrine gland

เป็น ต่อมที่ผลิตและหลั่งสารเคมีนำข่าวสาร (chemical messenger) ที่เรียกว่า hormone ไปสู่อวัยวะหรือเนื้อเยื่อเป้าหมาย โดยซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ต่อมไร้ท่อจึงมีเลือดเข้าไปเลี้ยงเป็นจำนวนมาก

Hormone

คือ สารเคมีที่นำ ข่าวสาร จากเซลล์กลุ่มหนึ่ง ไปยังเซลล์อีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อบอกและควบคุมให้เซลล์กลุ่มนั้น ๆ ทำงานตามความต้องการของร่างกาย ฮอร์โมนออกฤทธิ์ได้โดยการจับกับตัวรับสัญญาณ (receptor) ของเซลล์เป้าหมาย ดังนั้นฮอร์โมนจึงไม่ได้ออกฤทธิ์กับทุก ๆ เซลล์ แม้จะเคลื่อนไปกับเลือดและสัมผัสกับทุก ๆ เซลล์ก็ตาม

การออกฤทธิ์ของ Hormone

ออกฤทธิ์เฉพาะ

 บางชนิดออกฤทธิ์ในทันทีทันใด

 บางชนิดออกฤทธิ์ช้านานเป็นปี

หน้าที่ของ Hormone

ควบคุม metabolism ของเซลล์

 ควบคุม-กระตุ้น growth, development and   maturity

 มีส่วนควบคุม A.N.S.- C.N.S.

 รักษาความคงที่ (homeostasis)

 มีส่วนควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์

 ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเมื่ออยู่ในภาวะคับขัน

การควบคุมการหลั่งฮอร์โมน

ระบบประสาท

ปริมาณสารในเลือด

กลไกการป้อนกลับเชิงลบ   (negative feedback)

ต่อมไร้ท่อหลักของมนุษย์

Pituitary or   hypophysis

 Thyriod

 Parathyriod

 Adrenal or   Suprarenal

 The Islet’s of   Langerhans

 Sex glands or   Gonad

 Pineal

นอกจากต่อมไร้ท่อหลัก ๆ แล้ว ยังมีต่อมที่แทรกอยู่ในอวัยวะอื่น ๆ ทำหน้าที่ผลิตและหวั่งฮอร์โมนอีก เช่น ต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งเอ็นไซม์ของต่อมในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ และตับอ่อน ต่อมในไต ต่อมในตับ รก เป็นต้น

 

 

ระบบกล้ามเนื้อ

เป็น ระบบอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ทั้งการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การเคลื่อนไหวเพื่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ การทรงตัว และการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย (ทำความร้อน)

เนื้อ เยื่อกล้ามเนื้อประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อทีเรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว เพื่อการหดตัวที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ภายในเซลล์ประกอบด้วย organelles ที่เหมือนกับเซลล์ทั่วไป แต่จะมี organelles เฉพาะ และเรียกชื่อโครงสร้างบางอย่างแตกต่างกัน เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ เรียก sarcolemma  cytoplasm เรียก sarcoplasm และendoplasmic reticulum เรียก sarcoplasmic reticulum




ชนิดของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

จำแนกตามที่อยู่

กล้ามเนื้อลาย (striated muscle)

กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)

กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)

จำแนกตามการควบคุมการทำงาน

กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ (voluntary muscle)

กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ (involuntary   muscle)

การจำแนกกล้ามเนื้อตามที่อยู่

กล้ามเนื้อลาย

หรือ เรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เป็นโครงร่างของร่างกาย มีอยู่ประมาณ 40% ของน้ำหนักตัว

รูปร่าง :

เซลล์ มีรูปร่างเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นไหมพรม เรียงตัวขนานตามความยาวของเซลล์ เมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นแถบลายตามขวางในเซลล์ชัดเจนและนิวเคลียสหลายอัน (multinucleate)

ขนาดเซลล์

เซลล์กว้างประมาณ 10-100 mm ยาวประมาณ 2 ม.ม.- 7.5 ซ.ม.

กล้ามเนื้อเรียบ

หรือ เรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้อวิสเซอรัล(visceral muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เป็นโครงสร้างของอวัยวะภายในที่มีช่องกลวง เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ มดลูก เป็นต้น มีอยู่ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว

รูปร่าง :

เซลล์มีรูปร่างคล้ายกระสวย เรียงตัวตามความยาวของเซลล์ เมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์ ไม่มีลายเหมือนกล้ามเนื้อลาย

ขนาดของเซลล์

กว้างประมาณ 2-5 mm

ยาวประมาณ 50-100 mm

กล้ามเนื้อหัวใจ

เป็นกล้ามเนื้อที่เป็นโครงสร้างของหัวใจ ทำงานได้โดยไม่หยุดตลอดชีวิต

รูปร่าง :

เซลล์ มีขนาดสั้น เรียงตัวต่อกัน โดยมีแผ่น intercalated disc กั้นระหว่างเซลล์ นอกจากนั้นแต่ละเซลล์ยังมีแขนงแยกออกไปเชื่อมต่อกับเซลล์อื่น  เรียกลักษณะนี้ว่า syncytium  เนื้อเยื่อจึงทำงานพร้อมกันเมื่อเซลล์ใดเซลล์หนึ่งถูกกระตุ้น

คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ

หดตัวได้ (contractility)

ยืดออกได้ (extensibility)

ยืดหยุ่นได้ (elasticity)

ไวต่อการเร้า (excitability)




ระบบประสาท

ระบบประสาท เป็นระบบหลักในการควบคุมการทำงาน ควบคุมจังหวะและประสานการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ เป็นศูนย์กลางของจิตใจ ความคิด การเรียนรู้ และความจำ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ถูกควบคุมด้วยระบบควบคุม 2 ระบบ อีกระบบหนึ่งคือ ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทร่วมกับฮอร์โมนในการควบคุมจังหวะและความคงที่ (ความสมดุล) ต่าง ๆ จากการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในร่างกาย(สิ่งเร้า)ที่ผ่านทาง ตัวรับหรืออวัยวะรับความรู้สึก (receptor)

ระบบ ประสาทประกอบด้วย สมอง ไขสันหลังเส้นประสาท และแกงเกลีย (ganglia) และยังประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดอื่น ๆ เช่น เลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นต้น การทำงานของระบบประสาทจำแนกออกเป็น  3 ประการ โดยหน้าที่ทั้งหมดมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ การรับความรู้สึก (sense) การบูรณาการ (integrate) และการสั่งการ (command)

เนื้อเยื่อประสาท

ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์พื้นฐาน 2 ชนิด :

 neuron จำนวนประมาณ 1 แสนล้านเซลล์

 neuroglia (แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์)   ทำหน้าที่พยุงหรือป้องกันเซลล์ประสาท มี  จำนวน  มากกว่านิวรอน 10-50 เท่า

นอก จากเซลล์ 2 ชนิดนี้แล้ว ในเนื้อเยื่อประสาทยังรวมไปถึงปลายประสาท (nerve ending) เส้นประสาท (nerve) และปมประสาท (ganglia) ด้วย

ชนิดของเนื้อเยื่อประสาท

เนื้อเยื่อสีเทา (gray matter) พบที่ nuclei ของ  สมอง-ไขสันหลัง และ ganglia

 

 เนื้อเยื่อสีขาว (white matter) พบที่สมองและ  รอบ ๆ แกนของไขสันหลัง

เซลล์ประสาท (Nerve Cell)

มีชื่อเรียกเฉพาะว่า นิวรอน (neuron) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาทมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ

นิ วรอนเกือบทั้งหมดไม่มีcentriolesจึงมีการแบ่งเซลล์เฉพาะระยะที่เป็นทารกอยู่ ในครรภ์มารดาเท่านั้น แต่ในระยะหลังคลอดจะเจริญเติบโตด้วยการเพิ่มขนาด

โครงสร้างของ Neuron

โครงสร้างประกอบด้วย 2 ส่วน :

 ตัวเซลล์ (cell body)

 
  

 แขนงเซลล์ (cell process

Cell body

  
 

 nucleus ขนาดใหญ่

  

 neuroplasm มีorganelles เหมือนเซลล์ทั่วไป +   Nissl body + neurofibril

Nissl body มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ รูปร่างไม่  แน่นอน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้โปรตีน

 neurofibril มีลักษณะเป็นเส้นใยฝอย ทำหน้าที่  ช่วยกระจายกระแสประสาทและ ช่วยพยุงเซลล์

cell body ของneuron ส่วนใหญ่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า นิวคลีไอ (nuclei) และเรียกนิวคลีไอที่ทำหน้าที่เฉพาะว่า ศูนย์ประสาท (center) เรียก cell body ที่อยู่นอกสมอง-ไขสันสันหลังซึ่งมีจำนวนน้อยและมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้ม ไว้ว่า แกงเกลีย (ganglia, พหู. ganglion ,เอก.)

Cell process หรือ เส้นใยประสาท (Nerve fiber)

คือ neuroplasm ที่ดันผนังเซลล์ให้ยื่นออกจากตัวเซลล์ แต่ละเซลล์มีจำนวนแขนงไม่เท่ากัน แขนงอาจสั้น หรืออาจยาวเป็นเมตร

แขนงเซลล์มี 2 ชนิด ได้แก่

axon

dendrite

Axon

เป็นแขนงยาวที่ ยื่นออกจากตัวเซลล์ตรงบริเวณที่ไม่มี Nissl’ body ในแขนงแอกซอนมีเฉพาะ neurofibril แขนงมีขนาดเท่ากันโดยตลอด อาจแตกแขนงเล็ก ๆ เรียกว่า collateral แขนงแอกซอน ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปสู่เซลล์อื่นหรืออวัยวะแสดงผล เช่น กล้ามเนื้อ ต่อม เป็นต้น นิวรอน ทุกเซลล์จะมีแอกซอนเพียงแขนงเดียว

axon เกือบทั้งหมดมีสารไขมันหุ้ม เรียกว่า myelin sheath จึงเรียกว่า แขนงที่มีปลอกหุ้มนี้ว่า medullated fiber และเรียก axon ที่ไม่มีปลอกหุ้มว่า unmedullated fiber

โครงสร้างของ Medullated fiber

 เส้นใยประสาทที่เป็นแกน (central core)

 ปลอก myelin (myelin sheath)

 ปลอกของ Schwann (sheath of Schwann cell   or neurilemma)

Dendrite

เป็น แขนงสั้น ๆ ปลายเรียวเล็กและแตกเป็นแขนงย่อย ผิวไม่เรียบ มีลักษณะเป็นตุ่มนูน มีหน้าที่รับกระแสประสาทจากนิวรอนตัวอื่น หรือจากตัวรับ (receptor, อวัยวะรับความรู้สึก) เข้าสู่ตัวเซลล์ ในนิวรอน 1 ตัว อาจมีแขนงเดนไดรต์ได้หลายแขนง

เส้นประสาท (Nerve)

คือ กลุ่มของเส้นใยประสาท (nerve fiber) ที่อยู่นอก CNS ทำหน้าที่เป็นทางเดินของกระแสประสาท (nerve impulse)

*ทางเดินของกระแสประสาทใน CNS เรียกว่า tract

ชนิดของเส้นประสาท

จำแนกตามหน้าที่ :-

 เส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory or   afferent nerve)

 เส้นประสาทนำคำสั่ง (motor or   efferent nerve)

 เส้นประสาทผสม (mixed nerve)

ปลายประสาท

( Specialized nerve ending)

คือ ส่วนปลายสุดของเส้นประสาท (ส่วนที่ไกลไปจากระบบประสาทส่วนกลาง) ที่ไปสัมผัสกับสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายในร่างกายหรืออวัยวะเป้าหมาย ปลายประสาทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve ending) และปลายประสาทสั่งการ (motor nerve ending)

ปลาย ประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve ending)  จะรับความรู้สึกต่าง ๆ จากตัวรับ (receptor) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อยู่ตรงปลายของเส้นประสาทในอวัยวะความรู้สึก สามารถรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า และเปลี่ยนสิ่งเร้านั้นให้กลายเป็นกระแสประสาท ส่งไปตามเส้นประสาทเข้าไปรับรู้ที่ระบบประสาทส่วนกลางได้ อวัยวะรับความรู้สึกที่ปลายประสาทรับความรู้สึกพบได้ที่บริเวณผิวหนัง เยื่อบุผิว กล้ามเนื้อ ข้อต่อและเอ็น

ปลายประสาทสั่งการ (motor nerve ending)  คือ ปลายสุดของแขนงแอกซอน (axon terminal) ของ

เส้นใยประสาทสั่งการ (motor nerve fiber) ที่ไป

ไซ แนพส์ กับเซลล์กล้ามเนื้อ ซึ่งเรียกจุดไซแนพส์ นี้ว่า motor end plate เมื่อมีกระแสประสาทมาถึง motor end plate ก็จะมีการหลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ออกมาจาก axon terminal แล้วเคลื่อนไปจับกับตัวรับที่ผิวของกล้ามเนื้อ เพื่อ

เหนี่ยว นำให้เกิดกระแสประสาทกระจายไปทั่วกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการหดตัว หรือไปสิ้นสุดที่ต่อมของร่างกาย เพื่อสั่งการให้ต่อมหลั่งสิ่งคัดหลั่ง

ตัวรับหรืออวัยวะรับความรู้สึก

รับรู้การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในร่างกาย แล้วส่งกระแสประสาท “ความรู้สึก” ไปยัง CNS

ชนิดของอวัยวะรับความรู้สึก

(จำแนกตามตำแหน่งที่มีการกระตุ้น)

1. enteroceptor   เป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่ผิวหนัง   (ความรู้สึกจากการสัมผัสที่ผิวหนัง และอุณหภูมิ   ฯลฯ)

2. interoceptor   เป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่อยู่ใน

  อวัยวะภายใน (ปริมาณก๊าซในเลือด การ  เปลี่ยนแปลงความดันเลือด การหดตัวของกล้ามเนื้อ  เรียบ ฯลฯ)

3. proprioceptor  เป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่กล้ามเนื้อ  โครงร่าง เอ็น และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้มข้อต่อ

4. teleceptor  อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ (special   sense organs)ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง

กระแสประสาท

(Nerve impulse)

ชนิดของกระแสประสาท

 กระแสประสาทความรู้สึก หรือข่าวสาร (sensory nerve impulse) เป็นกระแสประสาทความรู้สึกที่เกิดจากตัวรับถูกกระตุ้น

 กระแสประสาทคำสั่ง (motor nerve impulse) เป็นกระแสประสาทที่ที่ motor neuron สร้างขึ้น เพื่อสั่งการให้กล้ามเนื้อหรือต่อมทำงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น