วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบประสาท

ระบบประสาท

ระบบประสาท เป็นระบบหลักในการควบคุมการทำงาน ควบคุมจังหวะและประสานการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ เป็นศูนย์กลางของจิตใจ ความคิด การเรียนรู้ และความจำ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ถูกควบคุมด้วยระบบควบคุม 2 ระบบ อีกระบบหนึ่งคือ ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทร่วมกับฮอร์โมนในการควบคุมจังหวะและความคงที่ (ความสมดุล) ต่าง ๆ จากการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในร่างกาย(สิ่งเร้า)ที่ผ่านทาง ตัวรับหรืออวัยวะรับความรู้สึก (receptor)

ระบบ ประสาทประกอบด้วย สมอง ไขสันหลังเส้นประสาท และแกงเกลีย (ganglia) และยังประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดอื่น ๆ เช่น เลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นต้น การทำงานของระบบประสาทจำแนกออกเป็น  3 ประการ โดยหน้าที่ทั้งหมดมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ การรับความรู้สึก (sense) การบูรณาการ (integrate) และการสั่งการ (command)

เนื้อเยื่อประสาท

ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์พื้นฐาน 2 ชนิด :

 neuron จำนวนประมาณ 1 แสนล้านเซลล์

 neuroglia (แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์)   ทำหน้าที่พยุงหรือป้องกันเซลล์ประสาท มี  จำนวน  มากกว่านิวรอน 10-50 เท่า

นอก จากเซลล์ 2 ชนิดนี้แล้ว ในเนื้อเยื่อประสาทยังรวมไปถึงปลายประสาท (nerve ending) เส้นประสาท (nerve) และปมประสาท (ganglia) ด้วย

ชนิดของเนื้อเยื่อประสาท

เนื้อเยื่อสีเทา (gray matter) พบที่ nuclei ของ  สมอง-ไขสันหลัง และ ganglia

 

 เนื้อเยื่อสีขาว (white matter) พบที่สมองและ  รอบ ๆ แกนของไขสันหลัง

เซลล์ประสาท (Nerve Cell)

มีชื่อเรียกเฉพาะว่า นิวรอน (neuron) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาทมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ

นิ วรอนเกือบทั้งหมดไม่มีcentriolesจึงมีการแบ่งเซลล์เฉพาะระยะที่เป็นทารกอยู่ ในครรภ์มารดาเท่านั้น แต่ในระยะหลังคลอดจะเจริญเติบโตด้วยการเพิ่มขนาด

โครงสร้างของ Neuron

โครงสร้างประกอบด้วย 2 ส่วน :

 ตัวเซลล์ (cell body)


  

 แขนงเซลล์ (cell process

Cell body

  

 nucleus ขนาดใหญ่

  

 neuroplasm มีorganelles เหมือนเซลล์ทั่วไป +   Nissl body + neurofibril

Nissl body มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ รูปร่างไม่  แน่นอน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้โปรตีน

 neurofibril มีลักษณะเป็นเส้นใยฝอย ทำหน้าที่  ช่วยกระจายกระแสประสาทและ ช่วยพยุงเซลล์

cell body ของneuron ส่วนใหญ่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า นิวคลีไอ (nuclei) และเรียกนิวคลีไอที่ทำหน้าที่เฉพาะว่า ศูนย์ประสาท (center) เรียก cell body ที่อยู่นอกสมอง-ไขสันสันหลังซึ่งมีจำนวนน้อยและมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้ม ไว้ว่า แกงเกลีย (ganglia, พหู. ganglion ,เอก.)

Cell process หรือ เส้นใยประสาท (Nerve fiber)

คือ neuroplasm ที่ดันผนังเซลล์ให้ยื่นออกจากตัวเซลล์ แต่ละเซลล์มีจำนวนแขนงไม่เท่ากัน แขนงอาจสั้น หรืออาจยาวเป็นเมตร

แขนงเซลล์มี 2 ชนิด ได้แก่

axon

dendrite

Axon

เป็นแขนงยาวที่ ยื่นออกจากตัวเซลล์ตรงบริเวณที่ไม่มี Nissl’ body ในแขนงแอกซอนมีเฉพาะ neurofibril แขนงมีขนาดเท่ากันโดยตลอด อาจแตกแขนงเล็ก ๆ เรียกว่า collateral แขนงแอกซอน ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปสู่เซลล์อื่นหรืออวัยวะแสดงผล เช่น กล้ามเนื้อ ต่อม เป็นต้น นิวรอน ทุกเซลล์จะมีแอกซอนเพียงแขนงเดียว

axon เกือบทั้งหมดมีสารไขมันหุ้ม เรียกว่า myelin sheath จึงเรียกว่า แขนงที่มีปลอกหุ้มนี้ว่า medullated fiber และเรียก axon ที่ไม่มีปลอกหุ้มว่า unmedullated fiber

โครงสร้างของ Medullated fiber

 เส้นใยประสาทที่เป็นแกน (central core)

 ปลอก myelin (myelin sheath)

 ปลอกของ Schwann (sheath of Schwann cell   or neurilemma)

Dendrite

เป็น แขนงสั้น ๆ ปลายเรียวเล็กและแตกเป็นแขนงย่อย ผิวไม่เรียบ มีลักษณะเป็นตุ่มนูน มีหน้าที่รับกระแสประสาทจากนิวรอนตัวอื่น หรือจากตัวรับ (receptor, อวัยวะรับความรู้สึก) เข้าสู่ตัวเซลล์ ในนิวรอน 1 ตัว อาจมีแขนงเดนไดรต์ได้หลายแขนง

เส้นประสาท (Nerve)

คือ กลุ่มของเส้นใยประสาท (nerve fiber) ที่อยู่นอก CNS ทำหน้าที่เป็นทางเดินของกระแสประสาท (nerve impulse)

*ทางเดินของกระแสประสาทใน CNS เรียกว่า tract

ชนิดของเส้นประสาท

จำแนกตามหน้าที่ :-

 เส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory or   afferent nerve)

 เส้นประสาทนำคำสั่ง (motor or   efferent nerve)

 เส้นประสาทผสม (mixed nerve)

ปลายประสาท

( Specialized nerve ending)

คือ ส่วนปลายสุดของเส้นประสาท (ส่วนที่ไกลไปจากระบบประสาทส่วนกลาง) ที่ไปสัมผัสกับสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายในร่างกายหรืออวัยวะเป้าหมาย ปลายประสาทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve ending) และปลายประสาทสั่งการ (motor nerve ending)

ปลาย ประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve ending)  จะรับความรู้สึกต่าง ๆ จากตัวรับ (receptor) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อยู่ตรงปลายของเส้นประสาทในอวัยวะความรู้สึก สามารถรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า และเปลี่ยนสิ่งเร้านั้นให้กลายเป็นกระแสประสาท ส่งไปตามเส้นประสาทเข้าไปรับรู้ที่ระบบประสาทส่วนกลางได้ อวัยวะรับความรู้สึกที่ปลายประสาทรับความรู้สึกพบได้ที่บริเวณผิวหนัง เยื่อบุผิว กล้ามเนื้อ ข้อต่อและเอ็น

ปลายประสาทสั่งการ (motor nerve ending)  คือ ปลายสุดของแขนงแอกซอน (axon terminal) ของ

เส้นใยประสาทสั่งการ (motor nerve fiber) ที่ไป

ไซ แนพส์ กับเซลล์กล้ามเนื้อ ซึ่งเรียกจุดไซแนพส์ นี้ว่า motor end plate เมื่อมีกระแสประสาทมาถึง motor end plate ก็จะมีการหลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ออกมาจาก axon terminal แล้วเคลื่อนไปจับกับตัวรับที่ผิวของกล้ามเนื้อ เพื่อ

เหนี่ยว นำให้เกิดกระแสประสาทกระจายไปทั่วกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการหดตัว หรือไปสิ้นสุดที่ต่อมของร่างกาย เพื่อสั่งการให้ต่อมหลั่งสิ่งคัดหลั่ง

ตัวรับหรืออวัยวะรับความรู้สึก

รับรู้การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในร่างกาย แล้วส่งกระแสประสาท “ความรู้สึก” ไปยัง CNS

ชนิดของอวัยวะรับความรู้สึก

(จำแนกตามตำแหน่งที่มีการกระตุ้น)

1. enteroceptor   เป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่ผิวหนัง   (ความรู้สึกจากการสัมผัสที่ผิวหนัง และอุณหภูมิ   ฯลฯ)

2. interoceptor   เป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่อยู่ใน

  อวัยวะภายใน (ปริมาณก๊าซในเลือด การ  เปลี่ยนแปลงความดันเลือด การหดตัวของกล้ามเนื้อ  เรียบ ฯลฯ)

3. proprioceptor  เป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่กล้ามเนื้อ  โครงร่าง เอ็น และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้มข้อต่อ

4. teleceptor  อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ (special   sense organs)ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง

กระแสประสาท

(Nerve impulse)

ชนิดของกระแสประสาท

 กระแสประสาทความรู้สึก หรือข่าวสาร (sensory nerve impulse) เป็นกระแสประสาทความรู้สึกที่เกิดจากตัวรับถูกกระตุ้น

 กระแสประสาทคำสั่ง (motor nerve impulse) เป็นกระแสประสาทที่ที่ motor neuron สร้างขึ้น เพื่อสั่งการให้กล้ามเนื้อหรือต่อมทำงาน



 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น