วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบโครงร่าง

ระบบโครงร่าง

หน้าที่ของระบบโครงร่าง

 เป็นโครงร่างของร่างกายโดยเป็นที่เกาะยึดของ  กล้ามเนื้อโครงร่าง

 ป้องกันอันตรายอวัยวะภายใน เช่น กะโหลกศีรษะ  ป้องกันสมอง ฯลฯ

 ร่วมกับกล้ามเนื้อทำให้เกิดการเคลื่อนไหว

 เป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือด

 เป็นแหล่งสะสมแคลเซียมและฟอสฟอรัส

 

อวัยวะ - เนื้อเยื่อในระบบ

กระดูก

กระดูกอ่อน

ข้อต่อ

เอ็นยึดข้อต่อ

กระดูก (Bone)

กระดูกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่เจริญมาจากเยื่อชั้นกลางของตัวอ่อน (mesoderm) และเจริญต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 18 – 20 ปี เป็นเนื้อเยื่อที่มีสารระหว่างเซลล์แข็ง เพราะมีเกลือแร่จับผลึกอยู่กับเส้นใย collagenous สารระหว่างเซลล์นี้เรียกว่า matrix กระดูกเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งที่สุดในร่างกาย

จำนวนกระดูกของมนุษย์ :

 แรกคลอด ประมาณ 270 ชิ้น

 อายู 9 เดือน ประมาณ 213 ชิ้น

 เติบโตเต็มที่ 206 ชิ้น

* เพราะบางชิ้นเจริญเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกัน

เนื้อเยื่อกระดูก

เนื้อ เยื่อกระดูก มี 2 ชนิด คือ กระดูกทึบ (compact bone) กับกระดูกพรุน (spongy bone) เนื่องจากกระดูกทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างเรื่องความหนาแน่นของกระดูก เนื้อเยื่อกระดูกประกอบด้วยเซลล์กระดูกที่เรียงตัวกันห่าง ๆ มีแมทริกซ์แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์

เซลล์กระดูก

มี 3 ชนิด :

เซลล์กระดูก (osteocyte)

เซลล์ออสทีโอบลาสท์ (osteoblast) ทำ  หน้าที่สร้างสารประกอบอินทรีย์ที่เป็น  ส่วนประกอบของ matrix

เซลล์ออสทีโอคลาสท์ (osteoclast) ทำ  หน้าที่กัดกร่อนเนื้อกระดูก

ข้อต่อ (Joint or Articulation)

ข้อต่อ หมายถึง บริเวณที่กระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน อาจเคลื่อนไหวได้ หรือเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อย หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลยก็ได้ ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ จะทำหน้าที่เป็นจุดหมุน ช่วยให้เคลื่อนไหวส่วนนั้นได้

ชนิดของข้อต่อ

จำแนกตามโครงสร้างที่อยู่ระหว่างรอยต่อ

 fibrous or fixed joint : suture

 

 cartilagenous or slightly movable joint   : symphysis pubis and vertebrae

 synovial or feely movable joint : knee,   wrist ฯลฯ

ชนิดของ freely movable joint (synovial)

 ball and socket : ข้อสะโพก ข้อไหล่

 hinge joint : ข้อเข่า ข้อศอก

 gliding joint : ระหว่างกระดูกข้อมือ-ข้อเท้า

 pivot joint : ระหว่าง C1 กับ C2

 condyloid joint or ellipsoidal : ระหว่างกระดูก  ฝ่ามือกับนิ้วมือ

 saddle joint : ระหว่างกระดูกข้อมือกับฝ่ามือ

กระดูกอ่อน (Cartilage)

กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย เซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte) ฝังตัวอยู่ภายใน matrix ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เส้นใย (fiber) ที่อาจเป็น collagenous fiber และ/หรือ elastic fiber กับ ground substance ที่ทำหน้าที่เป็นเซลล์สร้าง matrix       

ชนิดของกระดูกอ่อน

 hyaline cartilage

 fibrocartilage

 elastic cartilage

Hyaline Cartilage

เซลล์อยู่กันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ matrix แข็งและเรียบ ใน matrix มีเส้นใย collagenous ได้แก่ กระดูกอ่อนข้อต่อ costal cartilage (ปลายด้านหน้าของกระดูกซี่โครง) หลอดเสียง หลอดลม และหลอดลมแขนง

Fibrocartilage

เซลล์กระจายอยู่กันห่าง ๆ ลักษณะเรียงเป็นแนวตรง ใน matrix มีเส้นใย collagenous ที่เรียงตัวขนานกันอยู่ พบกระดูกอ่อนชนิดนี้บริเวณที่มีลักษณะยืดหยุ่นได้เล็กน้อย เช่น หมอนรองกระดูกสันหลัง (intervertebral disc) กระดูกอ่อนระหว่างข้อเข่า ข้อไหล่ เป็นต้น

Elastic Cartilage

เซลล์กระจายอยู่กันห่าง ๆ matrix แข็ง ใน matrix มีเส้นใย collagenous ทำให้ยืดหยุ่นได้ดี บิดงอได้ พบที่ใบหู epiglottis (ลิ้นปิดกล่องเสียง) และชั้นของหลอดเลือด aorta (หลอดเลือดแดงใหญ่)

เอ็นยึดข้อต่อ (Articular Ligament)

เป็นdense regular connectivetissue (fibroustissue) ที่มีความแข็งแรงยึดกระดูกกับกระดูกประกอบกันเป็นข้อต่อ




 


 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น